Where does GHG come from

ก๊าซเรือนกระจกมาจากไหน

ก๊าซเรือนกระจกมีทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ (Natural Greenhouse Gas) เช่น ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากหายใจของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น และก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมของมนุษย์หรือเรียกได้ว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้น (Anthropogenic Greenhouse Gas) เช่น ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินในกระบวนการการผลิตไฟฟ้า การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์ กระบวนการหมักของจุลินทรีย์จากน้ำในนาข้าว กระบวนการในภาคอุตสาหกรรม เช่น การผลิตปูนเม็ด กระบวนการทางเคมีต่าง ๆ สารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ แอร์รถยนต์และระบบทำความเย็นในอาคาร เป็นต้น

ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญมีทั้งหมด 7 ชนิด[1] ได้แก่

เอกสารอ้างอิง
[1] พิธีสารเกียวโตระยะที่ 1 ได้ระบุก๊าซเรือนกระจกไว้ในภาคผนวก 6 ชนิดและได้มีการเพิ่มชนิดที่ 7 ได้แก่ก๊าซ ก๊าซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) ภายใต้การดำเนินงานระยะที่สองของพิธีสารเกียวโต
[2] IPCC, “Source of CO2 ,” In: IPCC Special Report on Carbon dioxide Capture and Storage, [Online]. Available from: https://www.ipcc.ch/pdf/special-reports/srccs/srccs_chapter2.pdf
[3] Food and Agriculture Organization of the United Nations, TACKLING CLIMATE CHANGE THROUGH LIVESTOCK A global assessment of emissions and mitigation opportunities ,[online]. Available from http://www.fao.org/3/i3437e.pdf

ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่

ในปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นลำดับที่ 20 หรือคิดเป็นร้อยละ 0.77 ของการปล่อยทั้งโลก [1]

แนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพัฒนาและการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศยังต้องอาศัยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศ การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่ดีขึ้น การใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก อาทิโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ความต้องการด้านพลังงานโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งการบริโภคที่เกินความจำเป็นยังก่อให้เกิดปัญหาขยะ การขยายตัวและความเจริญของเมืองยังก่อให้เกิดปัญหาบุกรุกป่าและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย กิจกรรมเหล่านี้ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2537 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ 207.65 ล้านตันและในปี พ.ศ. 2556 เพิ่มเป็น 318.66 ล้านตัน [1]

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2556

ตราบใดที่ประเทศไทยยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่องนั้นหมายความว่า ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ

[1] การจำแนกสาขาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นไปตามคู่มือการจัดทำข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (IPCC Guideline for National Inventory)