ประเทศไทยกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เรื่องใหม่และไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เราคุ้นเคยกันดีกับคำว่า “ภาวะโลกร้อน” หรือ “ปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจก” ในระยะเวลาที่ผ่านมาเรารับรู้ได้ว่าบางอย่างในระบบภูมิอากาศของโลกนั้นมีความผิดปกติไปจากเดิม ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์หิมะตกในทะเลทรายซาฮารา อุณหภูมิในฤดูร้อนของเมืองซิดนีย์ประเทศออสเตรเลียสูงถึง 47 องศาเซลเซียส การเกิดพายุในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความถี่และรุนแรงมากขึ้น เหตุการณ์ “สภาพอากาศแปรปรวน” เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นแต่เป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดเป็นปกติ หลังจากนี้เราจะเจอเหตุการณ์ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศบ่อยขึ้นอันเนื่องมาจากการทวีความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั่นเอง
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเช่นกัน โดยผลจากการเก็บข้อมูลพบว่า



เอกสารอ้างอิง
[1] รายงานสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยครั้งที่ 2 พ.ศ. 2559
[2] ข้อมูลจากศูนย์ภูมิอากาศ สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา http://www.radio.tmd.go.th/bangkok/?p=
สาเหตุของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ภาวะโลกร้อนนั้นเกิดขึ้นจาก “ก๊าซเรือนกระจกที่มากเกินไปในชั้นบรรยากาศ” โดยหากมองย้อนกลับไปตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ช่วงปี พ.ศ. 2293) การทำกิจกรรมของมนุษย์เริ่มมีการนำสิ่งประดิษฐ์ เครื่องจักรกล มาใช้ในกระบวนการผลิตและการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยมีการพึ่งพาเชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็น ถ่านหิน น้ำมันเตา น้ำมันปิโตรเลียม เพื่อใช้ผลิตพลังงานสำหรับภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และการผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในครัวเรือน อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างต่อเนื่องนั้น ส่งผลให้ต้องมีการผลิตอาหาร การเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยและการขยายตัวของเมือง กิจกรรมที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ล้วนปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศทั้งสิ้น ส่งผลให้โลกของเราร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 1,000 ปี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ [1]
