Migation Measures

การลดก๊าซเรือนกระจก
การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ การดำเนินงานตามแผนการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Action : NAMA) ภายในปี พ.ศ. 2563 และการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 มีมติเห็นชอบกับการแสดงเจตจำนงการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศไทย (Nationally Appropriate Mitigation Action: NAMA) โดยเสนอตัวเลขศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างร้อยละ 7 – 20 (25– 73 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) ในปี พ.ศ. 2563 ภาคพลังงานและขนส่ง โดยแบ่งออกเป็นการดำเนินการเองในประเทศ (Domestically-supported NAMA) ที่ร้อยละ 7 และการดำเนินการที่ขอรับการสนับสนุนระหว่างประเทศ (Internationally-supported NAMA) อีกร้อยละ 13 โดยเทียบเคียงกับกรณีพื้นฐาน (BAU) ที่ใช้ปี ค.ศ. 2005 เป็นปีตั้งต้นซึ่งประเทศไทยได้ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงอย่างเป็นทางการต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2557 ทั้งนี้ NAMA ในส่วนที่ดำเนินการเองภายในประเทศประกอบด้วยมาตรการหลักตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (พ.ศ. 2558 – 2579) และแผนอนุรักษ์พลังงาน (พ.ศ. 2558 – 2579) และระยะภายหลังปี พ.ศ. 2563 ซึ่งดำเนินการภายใต้ NDC โดยกำหนดเป้าหมายที่ร้อยละ 20 – 25 จากสาขาพลังงานและขนส่ง สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และสาขาการจัดการของเสีย และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ NDC ฉบับปรับปรุง (Updated NDC) ของประเทศไทยเพื่อศึกษาวิเคราะห์รวบรวมข้อมูลและยกร่าง NDC ฉบับปรับปรุงให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของความตกลงปารีส

ความก้าวหน้าด้านการดำเนินงานตามแผนการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Action : NAMA) ภายในปี พ.ศ. 2563 จากสาขาพลังงานและขนส่ง กระทรวงพลังงานโดยคณะทำงานประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เป็นหน่วยประสานงานในการดำเนินงานรายงานการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการพลังงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 – 2560 นอกจากนี้กระทรวงพลังงานดำเนินการพัฒนาโครงสร้างการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบผลการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อเป็นกระบวนการรับรองผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้จากการดำเนินมาตรการ และสำหรับการดำเนินงานตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) ภายในปี พ.ศ. 2573 ที่มีการดำเนินงานจากสาขาพลังงานและขนส่ง สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และสาขาการจัดการของเสีย อยู่ระหว่างการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อ (ร่าง) แผนปฏิบัติการการลดก๊าซเรือนกระจกรายสาขา

ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก

ข้อมูลจากรายงานการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการภาคพลังงาน

ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น 14.34 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) คิดเป็นร้อยละ 3.91 จากมาตรการ 5 มาตรการ ดังนี้

มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้

(MtCO2e)

1.  มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทพลังงานธรรมชาติ 0.98
2.  มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทพลังงานชีวภาพ 8.04
3.  มาตรการผลิตไบโอดีเซลสำหรับใช้ในภาคขนส่ง 2.83
4.  มาตรการผลิตเอทานอลสำหรับใช้ในภาคขนส่ง 2.07
5.  มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. 0.42
รวม 14.34

ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น 37.47 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) คิดเป็นร้อยละ 10.21 จากมาตรการ 7 มาตรการ ดังนี้

มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้

(MtCO2e)

1.  มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทพลังงานธรรมชาติ 4.04
2.  มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทพลังงานชีวภาพ 8.65
3.  มาตรการผลิตความร้อนจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานธรรมชาติ 0.01
4.  มาตรการผลิตความร้อนจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานชีวภาพ 19.10
5.  มาตรการผลิตไบโอดีเซลสำหรับใช้ในภาคขนส่ง 2.84
6.  มาตรการผลิตเอทานอลสำหรับใช้ในภาคขนส่ง 2.55
7.  มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. 0.28
รวม 37.47

ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น 40.14 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) คิดเป็นร้อยละ 10.94 จากมาตรการ 9 มาตรการ ดังนี้

มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้

(MtCO2e)

1.  มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานธรรมชาติ (แสงอาทิตย์ พลังลม พลังน้ำ) 3.60
2.  มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานชีวภาพ (ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ) 7.96
3.  มาตรการผลิตความร้อนจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานธรรมชาติ (แสงอาทิตย์) 0.01
4.  มาตรการผลิตความร้อนจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานชีวภาพ (ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ขยะ) 21.35
5.  มาตรการใช้ไบโอดีเซลในภาคการขนส่ง 3.34
6.  มาตรการใช้เอทานอลในภาคการขนส่ง 2.55
7.  มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้า (กฟผ.) 0.15
8.  มาตรการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีสะอาด (กฟผ.) 0.75
9.  มาตรการเกณฑ์มาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ ๕ (กฟผ.) 0.43
รวม 40.14

ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น 45.68 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) คิดเป็นร้อยละ 12.45 จากมาตรการ 9 มาตรการ ดังนี้

มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้

(MtCO2e)

1.  มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานธรรมชาติ 3.99
2.  มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานชีวภาพ 9.86
3.  มาตรการผลิตความร้อนจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานธรรมชาติ 0.02
4.  มาตรการผลิตความร้อนจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานชีวภาพ 23.46
5.  มาตรการใช้ไบโอดีเซลในภาคการขนส่ง 3.32
6.  มาตรการใช้เอทานอลในภาคการขนส่ง 2.92
7.  มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. 0.12
8.  มาตรการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีสะอาด 1.37
9.  มาตรการเกณฑ์มาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ ๕ 0.62
รวม 45.68

ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งสิ้น 51.72 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO2e) คิดเป็นร้อยละ 14.09 จากมาตรการ 8 มาตรการ ดังนี้

มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้

(MtCO2e)

1.  มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานธรรมชาติ 5.53
2.  มาตรการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานชีวภาพ 9.95
3.  มาตรการผลิตความร้อนจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานธรรมชาติ 0.03
4.  มาตรการผลิตความร้อนจากพลังงานทดแทนประเภทพลังงานชีวภาพ 24.04
5.  มาตรการใช้ไบโอดีเซลในภาคการขนส่ง 3.76
6.  มาตรการใช้เอทานอลในภาคการขนส่ง 3.13
7.  มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า (โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ และโรงไฟฟ้าลิกไนต์) 4.56
8.  มาตรการเกณฑ์มาตรฐานและติดฉลากอุปกรณ์เบอร์ ๕ 0.72
รวม 51.72