การจัดทำกฎหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การจัดทำกฎหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ และมีแนวทางการดำเนินการร่วมกับนานาประเทศในการรักษาระดับความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจก
ในชั้นบรรยากาศและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนได้พัฒนาการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมภายในประเทศ เพื่อรองรับพันธกรณีที่เกิดขึ้นในระดับนานาชาติมาโดยตลอดจวบจนปัจจุบัน ซึ่งกำลังจะเข้าสู่กรอบการดำเนินงานตามข้อกำหนดของความตกลงปารีสที่มุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพูมิอากาศเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๓๐) เป็นต้นไป ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเตรียมการด้านโครงสร้างเชิงสถาบันและกฎหมายภายในประเทศให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานร่วมกับนานาชาติดังกล่าวได้อย่างยั่งยืนและแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง สิ่งแวดล้อม ประเด็นปฏิรูปที่ ๓ ผลักดันทุกภาคส่วนให้ร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้กำหนดให้มีการออกประกาศ พระราชบัญญัติ (พรบ.) ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยมีความพร้อมโดยเสริมสร้างระบบและกลไกภายในประเทศให้สามารถดำเนินภารกิจดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ที่มา: แผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องสิ่งแวดล้อม
ประเด็นปฏิรูปที่ 3: ผลักดันทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเด็นย่อยที่เกี่ยวข้อง: EIA Climate Change การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกและแผนที่เสี่ยงภัย แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ การเสริมสร้างตระหนักรู้/การศึกษา
กระบวนการดำเนินงาน

สผ. ดำเนินการ (ร่าง) พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …..
องค์ประกอบของกฎหมายประกอบด้วย

  1. โครงสร้างเชิงสถาบัน
  2. การลดก๊าซเรือนกระจก
  3. การปรับตัวต่อผลกระทบ
  4. แรงจูงใจ/เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2562
นำ (ร่าง) พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ….. ประเมินผลกระทบทางด้านกฎหมายตามมาตรา 77 ตามรัฐธรรมนูญฯ

ในปี พ.ศ. 2563
นำ (ร่าง) พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ….. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติหลักการ

คณะรัฐมนตรีผ่านความเห็นชอบ
นำเสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในลำดับต่อไป