เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (NAMAs)
เป้าหมาย การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศไทย (NAMAs) ในตัวเลขศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก ในช่วงระหว่างร้อยละ 7 – 20 (73 – 367 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) ในภาคพลังงาน และสาขาขนส่ง ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) โดยเทียบเคียงกับกรณีพื้นฐาน (BAU) ที่ใช้ปี ค.ศ. 2005 เป็นปีตั้งต้น โดยได้ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2557
NAMAs | CO2 Countermeasures | CO2 reduction in 2020 (kt-CO2) | |
---|---|---|---|
Domestically Supported NAMAs | RE Power (MAC) | 2,568 | |
EE Large Industries (MAC < 10$/t-CO2) | 4,762 | ||
Building Codes (Large buildings) | 5,909 | ||
Transport/Ethanol (AEDP 2012) | 5,069 | ||
Transport/Biodiesel 1st Gen (AEDP 2012) | 5,022 | ||
Sub-total | 23,330 kt-CO2 | (7%) | |
Internationally
Supported NAMAs |
RE Power (MAC > 10$/t-CO2 plus AEDP) | 13,456 | |
EE Large Industries (MAC > 10$/t-CO2) | 9,743 | ||
Transport/Biodiesel 2nd Gen (AEDP) | 14,459 | ||
Environmental Sustainable Transport | 12,000 | ||
Sub-total | 49,658 kt-CO2 | (13%) | |
Total Domestic and Supported NAMAs | 72,988 kt-CO2 | (20%) | |
Total emissions in 2005 | 192,724 kt-CO2 | ||
Total emissions in BAU 2020 | 367,437 kt-CO2 |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน (สป.พน.) กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชพ.)
ผลการดำเนินงานปัจจุบัน ปัจจุบันประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 51.72 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 14.09 (ข้อมูลจากรายงานการติดตามประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการภาคพลังงาน ปี พ.ศ. 2560) และอยู่ระหว่างการศึกษามาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงาน ปี พ.ศ. 2561
ผลการดำเนินงานที่ตั้งเป้าหมายไว้ สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 7-20 (73 – 367 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020)
การมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังปี พ.ศ. 2563 (Nationally Determined Contribution: NDC)
เป้าหมาย ประเทศไทยมีความตั้งใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 30 จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีปกติ ภายในปี พ.ศ. 2573 (222 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) ระดับของการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ขึ้นอยู่กับการเข้าถึงกลไกการสนับสนุนทางการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี การเงิน และการเสริมสร้างศักยภาพที่เพิ่มขึ้นและเพียงพอ ภายใต้กรอบข้อตกลงใหม่ ภายใต้ UNFCCC

อยู่ระหว่างการปรับปรุงข้อมูล
ลำดับ | สาขา | ศักยภาพ (Mt-Co2e) |
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก | หน่วยงานสนับสนุน | กลุ่มเป้าหมาย | แผน/การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ.2573 เท่ากับ 115.6 ล้านตันคาร์บอนไดออไซด์เทียบเท่า | |||||||
สาขาพลังงานและขนส่ง | ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ.2573 เท่ากับ 113 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt-Co2e) | ||||||
การผลิตไฟฟ้า | 24 | ||||||
1 | มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้า | 6 | กฝผ. | สนพ. สกพ. สผ. อบก. | ผู้ผลิตไฟฟ้า | -PDP2015 | |
2 | มาตรการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน | 18 | พพ. กฝผ. กฟภ. กฟน. | สนพ. สกพ.
สศก. อปท. คพ. สผ. อบก. |
ผู้ผลิตไฟฟ้า | -AED2015
-PDP2015 |
|
การใช้พลังงานในครัวเรือน | 4 | ||||||
3 | มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในครัวเรือน | 4 | พพ. กฟผ. | สมอ. สส. สผ. อบก. | ครัวเรือน | -EEP2015 | |
4 | มาตรการใช้พลังงานทดแทนในครัวเรือน | พพ. กฟผ. | สมอ. สส. สผ. อบก. | ครัวเรือน | -AEDP2015 | ||
การใช้พลังงานในอาคารเชิงพาณิชย์ (รวมอาคารรัฐ) | 1 | ||||||
5 | มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร | 1 | พพ. | สมอ. สส. สผ. อบก. | สถานประกอบการ/อาคารรัฐ | -EEP2015 | |
การใช้พลังงานในอุตสาหกรรม | 43 | ||||||
6 | มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอุตสาหกรรม | 11 | พพ. | กรอ. กนอ. สผ. อบก. | ผู้ประกอบการเอกชน | -EEP2015
-โครงการ RAC NAMA |
|
7 | มาตรการใช้พลังงานทดแทนในอุตสาหกรรม | 32 | พพ. | กรอ.สศก. สผ. อบก. | ผู้ประกอบการเอกชน | -AEDP2015 | |
การคมนาคมขนส่ง | 41 | ||||||
8 | มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการคมนาคมขนส่ง | 31 | สนพ. สมอ. สนข. รฟท. | สผ. อบก. กทม. หน่วยงานในสังกัด คค. | ผู้ผลิต/ผู้เดินทาง/ระบบขนส่งทางบก น้ำ และอากาศ/ประชาชน | -EEP2015
-แผนแม่บทในการพัฒนาระบบการขนส่งที่ยั่งยืนฯ |
|
9 | มาตรการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับยานพาหนะ | 10 | พพ. | สนข. สผ. อบก. | ผู้ผลิต/ผู้ใช้รถยนต์ | -AED2015 | |
สาขาการจัดการของเสีย | ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ.2573 เท่ากับ 2.0 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt-Co2e) | ||||||
การจัดการขยะ | 1.3 | ||||||
10 | มาตรการลดปริมาณขยะ (เช่น การลดอัตราการเกิดขยะการเพิ่มการรีไซเคิลและการนำขยะมาใช้ประโยชน์ เป้นต้น) | 1.3 | อปท. สถ. กทม. | คพ. สส. สผ. อบก. | บ้านเรือน/ชุมชน | -แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ
-แผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม -แผนการจัดการมลพิษ |
|
การจัดการน้ำเสีย | 0.7 | ||||||
11 | มาตรการเพิ่มการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียอุตสาหกรรมด้วยการนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์ | 0.7 | กนอ. กรอ. พพ. | คพ. สผ. อบก. | อุตสาหกรรม | -AEDP2015
-PDP2015 |
|
12 | มาตรการจดการน้ำเสียอุตสาหกรรมอื่นๆ | กรอ. | สผ. อบก. | อุตสาหกรรม | -การดำเนินงานตามการส่งเสริมเทคโนโลยีสะอาดของ กรอ. | ||
13 | มาตรการจัดการน้ำเสียชุมชน | อจน. กทม. อปท. | คพ. สถ. สผ. อบก. | บ้านเรือน/ชุมชน | -แผนวิสาหกิจองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ.2559-2564
-แผนแม่บท กทม. ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.2556-2566 -แผนจัดการมลพิษ |
||
สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ | ศักยภาพรวม ณ ปี พ.ศ.2573 เท่ากับ 0.6 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt-Co2e) | ||||||
การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม | 0.6 | ||||||
14 | มาตรการทดแทนปูนเม็ด | 0.3 | กรอ. | สมอ. สผ. อบก. สภาอุตสาหกรรม | อุตสาหกรรมซีเมนต์ และวัสดุก่อสร้าง | ||
15 | มาตรการทดแทน/ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น | 0.3 | กรอ. สผ. พพ. | อบก. | ผู้ผลิต/ผู้ใช้สารทำความเย็น | -พิธีสารมอลทรีออล
-โครงการ RAC NAMA |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)
ผลการดำเนินงานปัจจุบัน
- 1. มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2560 เห็นชอบต่อแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 (Thailand’s Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 2021 – 2030) และมอบหมายให้ สผ. จัดทำแผนปฏิบัติการสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนที่นำทางฯ เพื่อสนับสนุนศักยภาพการดำเนินงานของหน่วยงานโดยครอบคลุมข้อจำกัด ความต้องการด้านการสนับสนุน และระบบ/กรอบการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานของมาตรการต่างๆ
- 2. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุง (ร่าง) แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 รายสาขา (สาขาพลังงาน สาขาขนส่ง สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม และสาขาการจัดการของเสียชุมชน) ให้มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติตามข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แก่ 1) เพิ่มการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคาม หรือการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค ต่อการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกในสาขาต่างๆ รวมทั้งควรพิจารณา การกำหนดตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 2) ควรให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก รายมาตรการ/รายสาขา และควรกำหนดตัวชี้วัดร่วมไว้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเร่งรวบรวมแผนงาน/โครงการ ภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการจัดสรรงบประมาณและบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 3) ปรับปรุง (ร่าง) แผนปฏิบัติการให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ผลการดำเนินงานที่ตั้งเป้าหมายไว้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 รายสาขา (สาขาพลังงาน สาขาขนส่ง สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงน้ำเสียอุตสาหกรรม และสาขาการจัดการของเสียชุมชน) และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี