กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF)

กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF)

กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF) เป็นกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 ในการประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 16 ที่เมืองแคนคูน สหรัฐเม็กซิโก โดยเริ่มดำเนินงานเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2558 เป็นกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญา UNFCCC เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของประชาคมโลกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำและมีความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ กองทุน GCF คำนึงถึงความเป็นเจ้าของประเทศและความต้องการของประเทศเป็นหลัก โดยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนจำนวน 24 คนซึ่งครึ่งหนึ่งมาจากประเทศพัฒนาแล้วและอีกครึ่งหนึ่งมาจากประเทศกำลังพัฒนา โดยที่การตัดสินใจอาศัยมติแบบเอกฉันท์ของคณะกรรมการบริหารกองทุนในส่วนของความท้าทายเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบ ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ตั้งเป้าหมายระดมทุนให้ได้จำนวนหนึ่งแสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (100 BILLION USD) ภายในปีพ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) โดยจัดสรรเงินทุนในสัดส่วนที่เท่ากันเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบโดยที่ร้อยละ 50 ของเงินด้านการปรับตัวจะจัดสรรให้กับประเทศที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษ ได้แก่ ภาคีประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ภาคีประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และภาคีกลุ่มประเทศแอฟริกา

ความเป็นมาของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว

กรอบยุทธศาสตร์ของกองทุน

กองทุนภูมิอากาศสีเขียวกำหนดกรอบยุทธศาสตร์เพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4 ด้าน ได้แก่

  1. เพิ่มการผลิตและการเข้าถึงพลังงานที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ
  2. เพิ่มการขนส่งที่มีระบบการปล่อยคาร์บอนต่ำ
  3. อาคาร เมืองอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า
  4. การใช้ที่ดิน การตัดไม้ทำลายป่า การจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน และเพิ่มการดูดกลับคาร์บอนในภาคป่าไม้ และเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4 ด้าน ได้แก่ (1) สุขภาพความเป็นอยู่และความมั่นคงด้านอาหารและน้ำ (2) การดำรงชีวิตของผู้คนและชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัย (3) ระบบสาธารณูปโภคและสภาวะแวดล้อม และ (4) ระบบนิเวศและการบริการ

ขนาดโครงการ

ขนาดโครงการ GCF ที่หน่วยงานปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองสามารถดำเนินการได้ มีดังนี้

รูปแบบกลไกทางการเงินของ GCF

กองทุนภูมิอากาศสีเขียว กำหนดรูปแบบกลไกทางการเงินไว้ 4 ประเภท ดังนี้
  1. เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่า : ใช้เพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น กิจกรรมด้านการปรับตัวในพื้นที่เปราะบาง การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการเสริมสร้างศักยภาพ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตลอดจนการสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อให้โครงการสัมฤทธิ์ผล
  2. เงินกู้แบบมีเงื่อนไขผ่อนปรน : ใช้เพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินด้วยการกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าท้องตลาด การยืดระยะเวลา และ/หรือ การพักชำระหนี้ชั่วคราว
  3. เงินค้ำประกัน : ใช้เพื่อบรรเทาหรือลดความเสี่ยงของการลงทุน โดยที่ผู้ค้ำประกันทำสัญญารับผิดชอบร่วมหรือแทนผู้กู้ ซึ่งการค้ำประกันนี้อาจครอบคลุมการลงทุนทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน
  4. ตราสารทุน : เป็นการระดมเงินทุนจากนักลงทุนสำหรับโครงการหรือสินทรัพย์ เพื่อช่วยลดภาระหนี้และเพิ่มผลตอบแทนในที่สุด ซึ่งโดยทั่วไป ตราสารทุนเหมาะกับโครงการที่มีความเสี่ยงสูง แต่มีโอกาสของความสำเร็จและให้ผลตอบแทนต่อนักลงทุน

องค์ประกอบของกองทุน GCF

โครงสร้างของกองทุน GCF มุ่งเน้นหลักความเป็นเจ้าของประเทศ โดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยประสานงานหลักเพื่อให้มั่นใจว่าโครงการ/แผนงานที่ได้รับการพัฒนาและเสนอไปยังกองทุนนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างแท้จริง

การเข้าถึงกองทุน GCF

กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (GCF) ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการและแผนงานที่ได้รับการพัฒนาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งนี้การดำเนินงานโครงการและแผนงานต้องเป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ของกองทุน GCF โดยหน่วยงานปฎิบัติการที่ได้รับการรับรอง (Accredited Entity: AE) สามารถพัฒนาและส่งข้อเสนอโครงการไปที่สำนักเลขาธิการกองทุนได้ทุกเวลา หรือกองทุน GCF อาจประกาศเปิดรับข้อเสนอโครงการเป็นระยะๆ ผ่านทางเว็บไซต์

การพัฒนาแนวคิดโครงการ/ข้อเสนอโครงการ

แนวคิดโครงการ (Concept Note) เป็นการเสนอโครงการหรือแผนงานโดยย่อ หลังจากที่ได้มีการหารือกับหน่วยประสานงานหลักแห่งชาติแล้ว เพื่อเปิดโอกาสให้ AE ได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสำนักเลขาธิการกองทุนว่าโครงการมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ นโยบาย และหลักเกณฑ์การลงทุนมากน้อยเพียงใด ก่อนที่จะได้มีการพัฒนาข้อเสนอโครงการในลำดับต่อไป

ก่อนที่จะมีการส่งแนวคิดโครงการ AE ควรปฏิบัติดังนี้

  1. หารือร่วมกับ NDA ให้ทราบถึงแนวคิดโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ของประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  2. แจ้งให้สำนักเลขาธิการกองทุนได้ทราบว่า AE ได้หารือกับ NDA แล้ว

นอกจากนี้แนวคิดโครงการนั้นไม่ใช่ภาคบังคับ แต่สนับสนุนให้มีการจัดทำ เพื่อรับฟังความคิดเห็นในเบื้องต้นจากสำนักเลขาธิการกองทุน ซึ่งจะช่วยให้การพิจารณาโครงการในอนาคตทำได้รวดเร็วขึ้น

แนวคิดโครงการ ประกอบด้วย 4 ส่วน

ข้อเสนอโครงการและแผนงาน

AE สามารถพัฒนาข้อเสนอโครงการหรือแผนงาน ต่อยอดจากการพัฒนาแนวคิดโครงการ โดยประสานใกล้ชิดกับ NDA เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของประเทศเป็นสำคัญ นอกจากนี้ AE สามารถพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการเป็นกรณีพิเศษตามการเรียกร้องของ GCF เพื่อให้มีการลงทุนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไรก็ดีข้อเสนอแนะและความเห็นจากสำนักเลขาธิการกองทุนที่มีต่อแนวคิดโครงการและข้อเสนอโครงการไม่ได้เป็นการรับรองว่า โครงการ/แผนงานดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาในที่สุดเสมอไป เพราะมติการตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้ายนั้นเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบ เช่น ด้านเทคนิค รูปแบบกลไกการเงิน สภาพแวดล้อมสังคม เพศภาวะและมุมมองข้อกฎหมายอื่น ๆ ทั้งนี้สำนักเลขาธิการกองทุนจะส่งโครงการต่อไปให้คณะกรรมการบริหารกองทุนพิจารณา ก็ต่อเมื่อได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาเชิงเทคนิค หรือ Technical Advisory Panel (TAP) ที่ทำงานอย่างเป็นอิสระ และจากสำนักเลขาธิการกองทุน

รายละเอียดในข้อเสนอโครงการประกอบด้วย

  1. Section A : บทสรุปของโครงการ/แผนงาน แสดงถึงข้อมูลส่วนสำคัญของโครงการที่ต้องการนำเสนอ
  2. Section B : รายละเอียดด้านงบประมาณและการเงิน ทั้งในส่วนที่ขอการสนับสนุนจากกองทุน GCF และจำนวนของงบร่วม หรือ co-financing
  3. Section C : รายละเอียดของโครงการ/แผนงานแสดงถึงข้อมูลและรายละเอียดของโครงการที่ต้องการนำเสนอ รวมถึงแผนการดำเนินงาน
  4. Section D : เหตุผลในการเข้าร่วมของ GCF แสดงให้เห็นถึงเหตุผลว่าทำไมการมีส่วนร่วมของ GCF ในโครงการ/แผนงานถึงมีความสำคัญ รวมถึงการคำนึงถึงความยั่งยืนของโครงการในระยะยาว
  5. Section E : ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการลงทุน แสดงถึงผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะได้รับโดยเทียบกับเกณฑ์
    การลงทุนของ GCF
  6. Section F : สรุปผลการประเมินแสดงถึงข้อมูลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน เหตุผลประกอบการตัดสินใจ การประเมินทางเทคนิค การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และการจัดการทางการเงิน รวมถึงการจัดซื้อ
  7. Section G : การประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงแสดงถึงความเสี่ยงที่สำคัญ และมาตรการลดความเสี่ยง
  8. Section H : การตรวจสอบและรายงานผลระบุถึงกรอบตรรกะ ตามกรอบการวัดผลการปฏิบัติงานของ GCF ซึ่งอยู่ภายใต้การการจัดการผลลัพธ์ รวมทั้งอธิบายถึงการเตรียมการในการติดตาม การรายงานและการประเมินผล
  9. Section I : ภาคผนวกแสดงถึงเอกสารประกอบอื่น ๆ

กระบวนการอนุมัติโครงการของ GCF

ทุกข้อเสนอโครงการหรือแผนงานที่ส่งเข้ามา เริ่มแรกจะได้รับการประเมินโดยสำนักเลขาธิการกองทุนและคณะกรรมการที่ปรึกษาอิสระด้านเทคนิค ตามกรอบยุทธศาสตร์ของกองทุนและเกณฑ์การลงทุนของกองทุน GCF (IPSCEN)

เกณฑ์การลงทุนของกองทุน GCF (IPSCEN)

1. ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (Impact Potential)  I

ศักยภาพของโครงการหรือแผนงานที่จะช่วยให้บรรลุหมายของกองทุน ในการปรับเปลี่ยนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำและมีความสามารถในการรับมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2. ศักยภาพในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift Potential) P

ระดับของกิจกรรมที่นำเสนอสามารถกระตุ้นผลกระทบที่นอกเหอไปจากการลงทุนในโครงการหรือแผนงานเพียงครั้งเดียว โครการดังกล่วสามารถไปพัฒนาต่อยอด ขยายผลหรือทำซ้ำในพื้นที่อื่นๆ ได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งมีนวัตกรรมและโอกาสของการแปรรูปอย่างไร

3. ศักยภาพของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) S

ศักยภาพของโครการหรือแผนงานที่จะสร้างประโยชน์มากขึ้นและร่วมกันในด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งมีการพัฒนาที่คำนึงถึงผลกระทบด้านเพศภาวะ

4. ความเป็นเจ้าของประเทศ (Country Ownership) C

ประเทศที่เป็นจ้าของโครงการหรือแผนงาน สามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามที่เสนอ และโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธ์ศาสตร์และนโยบายของประเทศต้นการปลี่ยนแปลสภาพภูมิอากาศที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันได้มากน้อยเพียงใด

5. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) E

อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์และการเงินของโครงการ/แผนงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกว่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากน้อยเพียงใด และมีงินสนับสนุนร่วมด้วยสักเท่าไหร่

6. ความต้องการของผู้รับ (Needs of Recipients) N

ความเปราะบางและความต้องการด้านเงินทุนของประเทศที่จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการหรือแผนงานว่าสามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย อุปสรรคในการจัดหาแหล่งเงินทุนและระดับของความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ รวมทั้งความต้องการด้านการพัฒนาศักยภาพของสถาบันและการดำเนินงานอย่างไรภายหลังข้อเสนอโครงการหรือแผนงานจะได้รับการนำเสนอไปยังคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อพิจารณาอนุมัติ ก่อนที่จะสามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งขั้นตอนในกระบวนการอนุมัติโครงการของ GCF แสดงไว้ในรูปด้านล่าง

หน่วยงานปฎิบัติการที่ได้รับการรับรอง (Accredited Entity: AE)

หน่วยงานปฎิบัติการที่ได้รับการรับรอง มีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น

  1. พัฒนาและจัดส่งข้อเสนอโครงการ
  2. กำกับดูแลการบริหารจัดการและการดำเนินงานโครงการ/แผนงาน
  3. เลือกใช้รูปแบบกลไกทางการเงินที่สอดคล้องกับศักยภาพของหน่วยงาน
  4. ผลักดันให้มีเงินลงทุนจากภาคเอกชน

หน่วยงานปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจำแนกเป็นสองแบบ

  1. หน่วยงานปฏิบัติการระดับชาติหรือภูมิภาค (Direct Access Entity: DAE) ได้แก่ หน่วยงานระดับท้องถิ่น ระดับชาติหรือภูมิภาคที่ผ่านการเสนอชื่อโดย NDA
  2. หน่วยงานปฏิบัติการระดับนานาชาติ (International Access Entity) ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดองค์การสหประชาชาติ ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สถาบันการงินระดับนานาชาติ และสถาบันระดับภูมิภาค
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
http://gcf.onep.go.th/th/